Miyuki Takara - Lucky Star


ยินดีต้อนรับสู่บล็อกนะคะ ^_^   นางสาว น้ำฝน แจ้งจิตร์  5511402975   กลุ่ม 101

วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

ระบบ ESS


ที่มาและความสำคัญของระบบ

ผู้ บริหารระดับสูงเป็นผู้กำหนดทิศทางในอนาคตขององค์กร การวางแผนและการตัดสินใจของผู้บริหารจึงมีความสำคัญต่อการอยู่รอด และเติบโตขององค์กร โดยอาศัยความชำนาญ ประสบการณ์ และรู้จักใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยสนับสนุนการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและ ทันต่อเหตุการณ์ จึงจำเป็นที่จะต้องมีระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร นั่นก็คือระบบ ESS 

เป็น ระบบสนับสนุนการตัดสินใจประเภทหนึ่งซึ่งได้รับการพัฒนามาโดยเฉพาะสำหรับผู้ บริหารระดับสูงเพื่อสันบสนุนการตัดสินใจในปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง ผู้บริหารระดับสูงใช้ระบบ ESS เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกรวดเร็วในการบริหารและตัดสินใจ โดยระบบจะให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ทันสมัยตามความต้องเพื่อในการกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ์ วัตถประสงค์ และเป้าหมาย รวมถึงการวางแผนระยะยาว นอกจากนี้ระบบยังช่วนอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้บริหารและบุคลากรในองค์การและระหว่างองค์การด้วย ระบบ ESS ได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถเหมาะสมและง่ายต่อการใช้งาน สอดคล้องกับความต้องการ ทักษะ รวมถึงความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลของผู้บริหารระบบ ESS บางครั้งเรียกว่าระบบ EIS ซึ่งเป็นระบบที่ให้สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงเช่นกันแต่ระบบ ESS ระรวมความสามารถเพิ่มเติมด้านการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดการและการจัดลำดับงาน

วัตถุประสงค์ของระบบงาน

 เพื่อให้สามารถรวบรวมความต้องการของผู้ บริหาร และนำมาออกแบบระบบให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานต่อไป การมีทัศนคติที่ดีของผู้บริหารต่อระบบสารสนเทศ และเป็นผู้นำในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการวางแผนกลยุทธ์ และบริหารองค์การ ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดี และเป็นแบบอย่างในการนำไปใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อ องค์การ

ประโยชน์ของระบบงาน 

1. คุณค่าโดยส่วนใหญ่ของ ESS เกิดจากความยืดหยุ่น (Flexibility) ในระบบนี้สามารถใส่ข้อมูลและเครื่องมือ โดยอาศัยตัวผู้บริหารโดยปราศจากความยุ่งยากและปัญหา ผู้บริหารมีอินสระในการแก้ประเด็นปัญหาที่ต้องการ โดยใช้กระบวนการความคิด (Thinking process) ซึ่งไม่ใช่ระบบตัดสินใจแต่เป็นเครื่องมือที่ช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจ
             2.ประโยชน์ที่มองเห็นของ ESS ก็คือ ความสารถในการวิเคราะห์เปรียบเทียบและกำหนดแนวโน้ม โดยการใช้รูปภาพทำให้ผู้ใช้สามารถมองเห็นได้มากแต่ใช้เวลาน้อย ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจมากกว่าระบบที่ใช้กระดาษเป็นตัวสื่อสาร
             3. ผู้บริหารได้มีการใช้ ESS ในการติดตามผลงาน ซึ่งจะทำให้ประสบผลสำเร็จ ในการหน้าที่ความรับผิดชอบบางครั้งก็มีการใช้ระบบนี้ในการติดตามงานหลัก โดยมีการจำแนกผลที่ได้ว่าเป็นไปตามแผนหรือไม่
            4.ESS สามารถที่จะเปลี่ยนการทำงานในองค์การได้ เมื่อผู้บริหารสามารถเข้าถึงข้อมูลได้มาก จะทำให้การบริหารและการติดตามกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น จึงทำให้การรายงานและการตัดสินใจได้รวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์

ข้อดี 

1.ง่ายต่อการใช้งานแก่ผู้บริหารระดับสูง
            2.ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ลึกซึ้ง
            3.ค้นหาสาสรสนเทศที่ต้องการได้ในเวลาสั้น
            4.ประหยัดเวลาในการดำเนินงานและการตัดสินใจ

ข้อเสีย

 ข้อมูลและการนำเสนออาจไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริหาร

ตัวอย่างระบบงาน

ระบบบริหารงานบุคคล ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของ Prosoft HRMI โดย ยกระบบงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพนักงานโดยตรง และมีความถี่ในการใช้งานบ่อยเข้าสู่ระบบ ESS พนักงานสามารถจัดการข้อมูลต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ผ่านเครือข่ายออนไลน์ (Web Browser) เช่น การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขององค์กร การปรับปรุงข้อมูลส่วนตัว บันทึกร้องขออนุมัติต่างๆ ซึ่งผู้บริหารสามารถเข้าไปพิจารณาอนุมัติการร้องขอผ่านระบบ ESS ได้เช่นกัน ทั้งนี้การเข้าถึงข้อมูลจะถูกกำหนดสิทธิ์ของผู้ใช้งานอย่างเป็นระบบเพื่อ ป้องกันความปลอดภัยของฐานข้อมูล 



ที่มา : http://www.l3nr.org/posts/283151 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น